วันอังคารที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 24 พฤศจิกายน 2557 ครั้งที่ 15



บันทึกอนุทิน  


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


  อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

             

   วัน/เดือน/ปี  24   พฤศจิกายน       2557   ครั้งที่  15

      

 เข้าสอน 11:30  -  14.00 น.




กิจกรรมในวันนี้

วันนี้อาจารย์สอนเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้นพร้อมกับมีเอกสารประกอบการสอนและสอนทีละหน้าให้นักศึกษาได้เข้าใจเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น

เนื้อหาที่เรียนในวันนี้







สมาธิสั้น




แล่น ซึ่งไม่เหมาะสมตามวัย ลักษณะอาการจะเริ่มที่อายุ 6 ขวบถึง 12 ขวบและมีอาการต่อเนื่องมากกว่า 

6 เดือน พบเห็นมากในวัยที่เข้าเรียนแล้ว และมักจะส่งผลให้มีผลการเรียนที่ย่ำแย่

สัญญาณและอาการ

กลุ่มเฉื่อยชามีอาการบางส่วนดังนี้

  • ฟุ้งซ่านได้อย่างได้ง่าย ขาดรายละเอียด ลืมของ และเปลี่ยนกิจกรรมหนึ่งไปยังอีกกิจกรรมหนึ่งบ่อยครั้ง
  • มีปัญหาในการมุ่งที่จะทำงานหนึ่งอย่าง
  • กลายเป็นคนเบื่องานในเวลาอันสั้น หากไม่ได้ทำงานที่สนุก
  • มีปัญหาในการมุ่งที่จะจัดระเบียบในการดำเนินงาน หรือ การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ
  • มีปัญหาในการส่งการบ้าน และมักจะทำของหาย (เช่น ดินสอ ของเล่น งานที่ได้รับมอบหมาย) ที่จำเป็นต้องใช้ให้งานเสร็จ
  • ไม่ฟังเวลาที่ผู้อื่นพูด
  • ฝันกลางวัน สับสนได้ง่าย และเคลื่อนไหวช้า
  • ลำบากในการคิด การประมวลผล และไม่ถูกต้องเหมือนคนอื่น ๆ
  • ไม่ฟังตามคำแนะนำ


กลุ่มอยู่นิ่งไม่ได้จะมีอาการดังต่อไปนี้

  • อยู่ไม่เป็นที่ กระสับกระส่าย
  • พูดไม่หยุด
  • ชน แตะ เล่น กับทุกอย่างที่อยู่ในสายตา
  • มีปัญหากับการนั่งในที่ทานอาหาร นั่งในโรงเรียน ทำการบ้าน
  • มีการเคลื่อนไหวตลอดเวลา
  • มีปัญหาในการทำงานหรือกิจกรรมที่ใช้ความเงียบ
อาการอยู่นิ่งไม่ได้นี้มีแนวโน้มจะหายไปเมื่อมีอายุมากขึ้น และจะกลับกลายเป็นอาการ "ความระส่ำระส่ายภายใน" ในกลุ่มวัยรุ่นและกลายมาเป็นผู้ใหญ่ที่เป็นสมาธิสั้น[1]
ผู้ทีมีอาการขาดความยับยั้งชั่งใจ จะมีอาการดังต่อไปนี้[18]
  • ไม่มีความอดทน
  • ระเบิดความคิดเห็นที่ไม่เหมาะสม แสดงอารมณ์โดยขาดการควบคุม และ แสดงโดยไม่ได้คำนึงถึงผลที่ตามมา
  • มีปัญหาในการรอคอสิ่งที่ต้องการ หรือขัดการสนทนาของบุคคลอื่น

กิจกรรมบำบัดกับเด็กสมาธิสั้น

ปัจจุบันพบเด็กที่เป็นสมาธิสั้นประมาณร้อยละ 5 ในเด็กวัยเรียน เช่น ห้องเรียนมีนักเรียน 50 คน จะพบเด็กกลุ่มนี้ 2-3 คน ซึ่งอาการสมาธิสั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เลี้ยงดูตามใจ ไม่ฝึกวินัย สติปัญญาต่ำ เบื่อหน่าย ติดตามการเรียนไม่ทัน มีปัญหารบกวนจิตใจ เป็นต้น ดังนั้นการตรวจหาสาเหตุจึงเป็นสิ่งสำคัญและต้องให้ข้อมูลด้านการเรียนและพฤติกรรมในห้องเรียน ร่วมกับข้อมูลจากทางบ้าน และการสังเกตพฤติกรรมในห้องตรวจประกอบกันในการวินิจฉัย แล้วกลุ่มอาการใดบ้างที่บ่งบอกว่าเป็น สมาธิสั้น ?

การวินิจฉัยทางการแพทย์แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ

  1. กลุ่มอาการขาดสมาธิ เช่น ทำกิจกรรมอะไรได้ไม่นาน ทำงานไม่เสร็จ ทำงานผิดบ่อยๆ ไม่ใส่ใจรายละเอียด ขี้ลืม ทำของหายเป็นประจำ เป็นต้น
  2. กลุ่มอาการซนอยู่ไม่นิ่ง เช่น ยุกยิก อยู่ไม่สุข ลุกเดินในห้องเรียน วิ่ง ปีนป่าย เล่นแรง รอคอยไม่ได้ พูดมาก พูดแทรก เป็นต้น
  3. กลุ่มที่พบอาการร่วมกันทั้ง 2 แบบ อาการจะเกิดในหลายสถานที่ ไม่ใช่เฉพาะที่โรงเรียนหรือที่บ้าน และเริ่มมีอาการตั้งแต่ก่อนอายุ 7 ปี เห็นอาการได้ชัดเจน ในช่วงชั้นประถมปีที่ 2-3 เนื่องจากเป็นช่วงที่วิชาเรียนมีความยาก และต้องการความใส่ใจในการเรียนมากขึ้น

ปัจจุบันมีการรักษาอาการสมาธิสั้นหลากหลายวิธี ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ

  1. การให้ความรู้แก่พ่อแม่และคุณครู เพื่อให้เข้าใจการดำเนินโรค ข้อจำกัดของเด็ก
  2. การใช้ยาเพื่อช่วยให้มีสมาธิในการเรียนได้นานขึ้น โดยการวินิจฉัยและให้การรักษาโดยจิตแพทย์
  3. การปรับพฤติกรรมที่บ้าน โดยเฉพาะพฤติกรรมที่ขัดขวางการเรียนรู้
  4. การช่วยเหลือในห้องเรียน

นักกิจกรรมบำบัดช่วยเหลือเด็กสมาธิสั้นได้อย่างไร

  1. ประเมินการรับรู้ และการทำกิจกรรมของเด็กเป็นรายบุคคล ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้ปกครองเกี่ยวกับพฤติกรรมทั้งที่บ้านและโรงเรียน
  2. จัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมให้เหมาะสมกับเด็กเป็นรายบุคคล ให้กิจกรรมการรักษา ที่เรียกว่าการบูรณาการประสาทรับความรู้สึก (Sensory Integration) เป็นการ
  3. กระตุ้นระบบการรับความรู้สึก เพื่อช่วยแก้ปัญหาพื้นฐาน (กระตุ้นการทำงานที่ประสานกันระหว่างระบบการรับความรู้สึกของเอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ระบบการทรงท่า ตลอดจนระบบการรับสัมผัส) ของเด็กในเรื่องการเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อมัดใหญ่ กล้ามเนื้อมัดเล็ก และการคงสมาธิ ทำให้สามารถลดอาการไม่อยู่นิ่งของเด็กสมาธิสั้นและซนผิดปกติได้ เนื่องจากได้รับการปลดปล่อยพลังงานที่มีมากออกมา ผ่านการทำกิจกรรมการเล่น การเคลื่อนไหว ที่ต้องออกแรง

    ตัวอย่างกิจกรรม SI สำหรับเด็กสมาธิสั้น

    • เพิ่มการรับความรู้สึกของระบบการรับรู้เอ็น กล้ามเนื้อ และข้อต่อ ซึ่งช่วยลดภาวะอยู่ไม่นิ่ง กิจกรรม ที่ต้องออกแรง ผลัก ดัน ดึง คลาน ยกของหนักๆ กระโดดแทมโพลีน
    • เพิ่มการรับความรู้สึกของระบบการทรงท่า กิจกรรม ยืนทรงตัวบนกระดาน วิ่งซิกแซก วิ่งเป็นวงกลม กระโดดเชือก เดินบนทางต่างระดับ
    • เพิ่มการรับความรู้สึกของระบบการรับสัมผัส กิจกรรมที่ร่างกายได้มีโอกาสสัมผัสพื้นผิวที่หลากหลาย ทั้งหยาบ หรืออ่อนนุ่ม เช่น ถั่วเขียว ถั่วแดง ทราย ดินน้ำมัน หญ้า พรม ฟองน้ำ
  4. การเพิ่มความสามารถในการควบคุมตนเองและสมาธิในการทำกิจกรรม
    • เป็นเป้าหมายหลักในการดูแลเด็กสมาธิสั้น กิจกรรม อาทิเช่น กิจกรรมศิลปะ กิจกรรมใบงานที่ต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์ แยกแยะ
  5. ส่งเสริมทักษะต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับเด็กสมาธิสั้น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และต่อยอดในการทำกิจกรรม และการเรียนรู้อื่นๆ เช่น
    • ฝึกการทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน แบ่งงานออกเป็นทีละขั้นตอน หรือแบ่งงานให้เป็นชิ้นเล็กๆ ที่เหมาะสมกับช่วงสมาธิของเด็ก เพื่อให้เกิดแรงจูงใจในการทำงาน
    • การฝึกให้รู้จัก "การวางแผนล่วงหน้า" ฝึกให้เด็กคิดก่อนทำ ทำงานโดยเน้น speed ให้ช้าลง แต่ทำงานให้เสร็จตรงตามเวลาที่กำหนด
    • การฝึกให้รู้จักการวางแผน และการประมาณ เวลา
    • การฝึกให้มองเห็นข้อดีของตนเอง " การมองคุณค่าในตัวเองที่ดีเป็นพื้นฐานของภาวะทางอารมณ์ที่ดี และความภูมิใจในตนเอง"
    • สมองกับการคิดวิเคราะห์ จำแนก แยกแยะองค์ประกอบต่างๆ หรือเหตุการณ์และหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
    • สมาธิ และการจับประเด็น เป็นเรื่องยากสำหรับเด็กกลุ่มนี้ เนื่องจากหนังสือไม่ใช่สื่อที่เคลื่อนไหว ต้องใช้สมาธิและความจดจ่ออย่างสูง ในการอ่านและจับประเด็น จึงเป็นสิ่งที่น่าส่งเสริม และผู้ปกครองสามารถฝึกที่บ้านได้ โดยเริ่มจากหนังสือเรื่องสั้น ไม่ยาวมาก และมีสีสันดึงดูดความสนใจ

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครองและครูในการช่วยเหลือและดูแลเด็กสมาธิสั้น และซนผิดปกติ


การปรับสิ่งแวดล้อม : เช่น ตำแหน่งโต๊ะเรียน ไม่ควรให้เด็กนั่งติดหน้าต่างหรือประตู เพราะเด็กจะ

วอกแวกเสียสมาธิ ควรให้เด็กนั่งหน้าสุดใกล้โต๊ะครูการเพิ่มสมาธิ : ตัวอย่างเช่น ขณะที่ลูกทำการบ้าน 

คุณพ่อคุณแม่ควรใช้เวลาสอนลูกทำ การบ้านแบบตัวต่อตัว ไม่ควรให้ลูกทำการบ้านคนเดียว และควรหัด

ให้เด็กนั่งทำงานอย่างต่อเนื่อง โดยไม่ลุกจากโต๊ะบ่อยๆ อาจจะเริ่มจากการให้นั่งนานสัก 5 นาที ในระยะ

เริ่มต้นแล้วค่อยเพิ่มระยะเวลานานขึ้นเรื่อยๆเมื่อเห็นว่าเด็กหมดสมาธิจริงๆ ควรให้เด็กมีกิจกรรมเปลี่ยน

อิริยาบถบ้าง เช่น ครึ่งหลังของคาบเรียนอนุญาตให้เด็กลุกจากที่ได้ แต่ในทางสร้างสรรค์ เช่นไปล้างหน้า 

ช่วยครูลบกระดาน หรือแจกสมุด จะช่วยลดความเบื่อหน่ายของเด็กลง และมีสมาธิเรียนได้นานขึ้นใน

กรณีที่เด็กสมาธิสั้นมาก ใช้วิธีลดระยะเวลาการทำงานให้สั้นลง แต่ทำบ่อยกว่าคนอื่น เน้นเรื่องความรับ

ผิดชอบและอดทนทำงานให้เสร็จเด็กมีความยากลำบากในการควบคุมตนเอง เช่น ซุ่มซ่าม ทำของเสีย

หาย หุนหันพลันแล่น ไม่ควรลงโทษรุนแรงแต่ควรจะเตือน และสอนอย่างสม่ำเสมอ ว่าพฤติกรรมใดไม่

เหมาะสม และพฤติกรรมที่เหมาะสมคืออะไร เปิดโอกาสให้เด็กได้แก้ไขด้วยตนเอง เช่น เก็บของเข้าที่

ใหม่บรรยากาศที่เข้าใจ และเป็นกำลังใจให้เด็กพยายามปรับปรุงตัวมากขึ้น ควรให้คำชมเมื่อเด็กมี

พฤติกรรมที่ดี เช่น ไม่รบกวนเพื่อน ช่วยงานครู และเมื่อเด็กทำผิดพลาดโดยไม่ตั้งใจควรใช้คำพูดปลอบ

ใจ ท่าทีเห็นใจ แนะนำวิธีแก้ไขการสื่อสารกับเด็ก ควรสังเกตเด็กมีสมาธิพร้อมและสนใจสิ่งที่ครูกำลังพูด

หรือไม่ ควรใช้คำพูดที่กระชับ ชัดเจน หากเด็กกำลังอยู่ในช่วงเหม่อ วอกแวก หรือไม่ได้สนใจ ควรเรียก

หรือแตะตัวอย่างนุ่มนวลให้เด็กรู้สึกตัว และหันมาสนใจ บางครั้งการบอก หรืออธิบายอย่างเดียว เด็กอาจ

ไม่เข้าใจ ครูควรเข้าหาเด็ก และใช้การกระทำร่วมด้วย เพื่อให้เด็กมีพฤติกรรมที่ต้องการ ซึ่งวิธีนี้จะ

เป็นการฝึกให้เด็กรับฟังและปฏิบัติตามผู้ใหญ่ได้ดีขึ้นในการช่วยเหลือด้านการเรียน ใช้คำอธิบายง่ายๆ 

สั้นๆ พอที่เด็กจะเข้าใจและให้ความสนใจ ซึ่งหากมีการสาธิตตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรม จะช่วยให้เด็ก

เข้าใจง่ายขึ้น


การนำความรู้ไปใช้

สามารถดูแลเด็กในชั้นเรียนได้และสามารถวางแผนการจัดการเรียนการสอนให้กับเด็กๆได้อย่างถูกวิธีในการจัดกิจกรรมให้กับเด็ก แบะ การดูแลในชั้นเรียนได้

ประเมินตนเอง

 เข้าเรียนตรงเวลา  แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน เข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน

ประเมินเพื่อน

ตั้งใจเรียน แต่งกายเรียบร้อยเป็นส่วนมาก 

ประเมินอาจารย์

เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เตรียมเนื้อหาการสอนมาอย่างดี สอนเข้าใจง่ายไม่เครียด





























วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 10 พฤศจิกายน ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 13


บันทึกอนุทิน  


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


  อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

             

   วัน/เดือน/ปี  10   พฤศจิกายน       2557   ครั้งที่  13

      

 เข้าสอน 11:30  -  14.00 น.


กิจกรรมในวันนี้

วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับปรุงพัฒนาการเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ โดยมีเอกสารประกอบพร้อมกับเนื้อหาที่จะนำมาสอนในวันนี้
  
กิจกรรมในการเรียนวันนี้












 การเรียนร่วมของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (Inclusive education for children with special needs) เป็นการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษประเภทต่างๆ เช่น เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน เด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เป็นต้น โดยจัดให้เด็กเหล่านี้เข้ามาเรียนในชั้นเรียนปกติ เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษได้รับการพัฒนาทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก อีกทั้งยังช่วยให้เด็กปกติมีการยอมรับ และปรับตัว เพื่อสามารถเรียนร่วมกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้
การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม การเรียนร่วมยังหมายถึงการศึกษาที่ไม่แบ่งแยกระดับชั้น เช่น อนุบาลประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา ตลอดจนการดำรงชีพของคนในสังคมหลังจบการศึกษาจะต้องดำเนินไปในลักษณะร่วมกันที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่ต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับเด็กปกติโดยไม่มีการแบ่งแยก ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดความหมายของการเรียนร่วมว่า หมายถึง วิธีการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษได้เรียนร่วมกับเด็กปกติ เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ นั้นสามารถจัดการศึกษาได้หลายหลายรูปแบบคือ

  • การเรียนร่วมบางเวลา (Integration) เป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติ โดยอาจจัดให้อยู่ในชั้นปกติในบางเวลา เช่น วิชาดนตรี พลศึกษา หรือร่วมกิจกรรม ลูกเสือ- เนตรนารี กีฬาสี เป็นต้น
  • การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming) การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไร เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลา


การนำไปประยุกต์ใช้

 สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนมามาปรับใช้ในการเรียนการสอนในการส่งเสริมพัฒนาการปรับพฤติกรรมเด็ก

ปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ และแนวทางการดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กและสามารถนำ

ไปปฏิบัติกับเด็กได้ในอนาคต

ประเมินตนเอง


 วันนี้แต่งการเรียบร้อย ตั้งใจเรียน และเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน


ประเมินเพื่อน

วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนเป็นส่วนมา


ประเมินอาจารย์

อาจารย์เข้าสอนตรงต่อเวลา แต่งการเรียบร้อย เตรียมเนื้อหามาสอนเป็นอย่างดี  มีการทำท่าทางประกอบให้เห็นอย่างชัดเจนในการอธิบายเนื้อหาที่นำมาสอน สอนสนุก ไม่เครียด สอนเข้าใจง่าย














วันศุกร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 17 พฤศจิกายน ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 14




บันทึกอนุทิน  


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


  อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

             

   วัน/เดือน/ปี  17  พฤศจิกายน     2557   ครั้งที่  14

      

 เข้าสอน 11:30  -  14.00 น.


กิจกรรมในวันนี้

จะมีการจัดโครงการในวันอังคาร ชื่อโครงการว่า โครงการครูปฐมวัย อนุรักษ์สืบทอดความเป็นไทยที่ใต้ตึกคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

รูปภาพการทำกิจกรรม
































ประเมินตนเอง

แต่งกายเรียบร้อยเข้าร่วมกิจกรรม  ตรงต่อเวลา  
























บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 3 พฤศจิกายน ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 12




บันทึกอนุทิน  


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


  อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

             

   วัน/เดือน/ปี  3   พฤศจิกายน   2557   ครั้งที่  12

      

 เข้าสอน 11:30  -  14.00 น.



กิจกรรมในวันนี้

อาจารย์เฉลยข้อสอบที่นักศึกษาสอบ ว่าแต่ละข้อคำตอบคืออะไร

และทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาแต่ละสัปดาห์ว่านักศึกษามีความ

เข้าใจมากน้อยเพียงใด





ประเมินตนเอง
วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟังอาจารย์เฉลยข้อสอบ เข้าเรียนตรงเวลา

ประเมินเพื่อน

วันนี้เพื่อนแต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์

วันนี้อาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา และบอกคะแนนสอบ และเฉลยข้อสอบให้นักศึกษาดูว่านักศึกษาผิดข้อไหนบ้าง เพื่อจะได้ทำข้อสอบได้

















วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 27 ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 11



บันทึกอนุทิน  


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


  อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

             

   วัน/เดือน/ปี  27     ตุลาคม  2557   ครั้งที่  11

      

 เข้าสอน 11:30  -  14.00 น.



กิจกรรมในวันนี้สอบวิชาการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ ขอให้นักศึกษาทุก

คนทำข้อสอบเต็มที่นะค่ะสู้ๆๆ A รอทุกคนอยู่น๊า




เตรียมตัวในการสอบ







บันทึกอนุทิน วัน/เดือน/ปี 20 ตุลาคม 2557 ครั้งที่ 10



  บันทึกอนุทิน  


วิชา การอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ


  อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ  แจ่มถิ่น

             

   วัน/เดือน/ปี  20     ตุลาคม  2557   ครั้งที่  10

      

 เข้าสอน 11:30  -  14.00 น.



กิจกรรมในวันนี้อาจารย์ได้อธิบายเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ 

และเด็กพิการซ้อน แล้วให้นักศึกษาดูตามใบงานที่อาจารย์ได้แจกให้ในคาบเรียน

สรุปความรู้ที่ด้รับในการเรียนวันนี้









สิ่งที่ค้นหาเพิ่มเติม


      เด็กบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders) หมายถึง เด็กที่แสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม (ต่อต้านตนเองหรือผู้อื่น) หรือมีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ (แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำ) ออกมาอย่างเนื่องจนถึงระดับที่ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของเด็กไม่ว่าจะเพียงลักษณะเดียว หรือหลายลักษณะร่วมกันก็ได้ เช่น มีความยากลำบากในการเรียน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางด้านสติปัญญา ประสาทสัมผัส หรือสุขภาพ มีความยากลำบากในการสร้างหรือคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างเพื่อนและครู แสดงออกถึงภาวะความเครียดและไม่มีความสุขอย่างเป็นปกติ มีแนวโน้มของอาการทางสุขภาพร่างกาย หรือความกลัวอันเป็นผลของปัญหาที่เกิดกับตัวเด็กเองหรือปัญหาที่เกิดในโรงเรียน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ปกครองจำนวนไม่น้อยที่ต้องเผชิญกับปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของลูกครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งปัญหาเหล่านั้น ส่วนใหญ่สามารถได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ไขได้ หากเด็กได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม ปัญหาของเด็กในบางกรณีอาจจะมีความรุนแรง ซึ่งเป็นสัญญาณของปัญหาสำคัญที่เด็กกำลังเผชิญอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากปัญหาความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็กเรื้อรังติดต่อกันเป็นเวลานานจนกระทั่งเด็กโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว ผลเสียที่ตามมาอาจลุกลามไปถึงการสูญเสียของชีวิตก็เป็นได้
    
           
สาเหตุ


  • ปัญหาด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
    • ใช้กำลังทำร้ายผู้อื่น ทำลายข้าวของ ลักทรัพย์
    • ฉุนเฉียวง่าย มีอารมณ์หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
    • มีนิสัยกลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโทษผู้อื่น และมักโกหกอยู่เสมอ
    • เอะอะและหยาบคาย
    • หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
    • ใช้สารเสพติด
    • หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
  • ปัญหาด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
    • มีความสามารถในการจดจ่ออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) ซึ่งอาจไม่เกิน 20 วินาที และสามารถถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ทุกเมื่อ
    • มีลักษณะงัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
  • ภาวะอยู่ไม่สุข (Hyperactivity) และสมาธิสั้น (Attention Deficit)
    • มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ และหยุกหยิกไปมา
    • พูดคุยตลอดเวลา และมักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่นอยู่เสมอ
    • มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
  • การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
    • หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
    • เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
    • ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
  • ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
    • ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder) เช่น การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation) การปฏิเสธที่จะรับประทาน รวมถึงนิสัยการรับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
    • โรคอ้วน (Obesity)
    • ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
  • ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
    • ขาดเหตุผลในการคิด
    • อาการหลงผิด (Delusion)
    • อาการประสาทหลอน (Hallucination)
    • พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง